วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
ประจำวัน อังคาร ที่ 31 มกราคม พ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

บทที่ 3  สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น

ลักษณะของสื่อ

ออกเป็น 3 ประเภท
 1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม
1.1 วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
1.2 วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย
   1.2.1 สิ่งพิมพ์
   1.2.2 ภาพชุด
   1.2.3 เทปโทรทัศน์

   1.2.4 เทปเสียง
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
  2.1 เครื่องเสียง
  2.2 อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
  2.3 อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
  3.1 การสาธิต    3.2 การทดลอง   3.3 เกม  3.4 การแสดงบทบาทสมมติ
  3.5 การจำลองสถานการณ์   3.6 การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
  3.7 ทัศนศึกษา    3.8กิจกรรมอิสระ   3.9 กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ

ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
6) ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาอธิบายน้อย เรียนรู้ได้ปริมาณมาก
7) สื่อช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้เกิดกับเด็ก
8) สื่อเป็นสิ่งเร้าที่เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัส
9) ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
10) สื่อช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ
11) สื่อช่วยตอบสนองความสนใจ อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ
12) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
13) ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น
14) ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ
15) เป็นศูนย์รวมความสนใจเด็ก และทำให้บทเรียนน่าสนใจ

ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1.มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
2.มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
3.มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
4.ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
5.มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
6. มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ไม่แหลมคม
7. มีรายละเอียดน้อย ง่าย (เหมาะสมกับวัย)
8. มีลักษณะเป็นมิติ ซึ่งเด็กจะสนใจและเข้าใจได้ดีกว่า
9. เป็นสื่อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจ และต้องการเรียนรู้
10.สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบได้

การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
1. การเลือกสื่อ
  1.1 มีความปลอดภัย สื่อที่จะสร้างขึ้นหรือเลือกให้เด็ก ครูควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
1.1.1ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก
1.1.2พื้นผิวของวัตถุเรียบ       
1.1.3ขนาดและน้ำหนักเหมาะสม
   1.2 คำนึงถึงประโยชน์ ที่เด็กได้รับ
1.2.1เร้าให้เด็กอยากรู้อยากเห็น     
1.2.2กระตุ้นพัฒนาการ
1.2.3ประโยชน์ที่มีต่อกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
1.3 ความประหยัด
1.3.1 เงิน ค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่สูงเกินไป
1.3.2 ประหยัดในแง่ของวัสดุ
     1.4 ด้านประสิทธิภาพ
1.4.1 ใช้ได้หลายอย่าง หลายโอกาส
1.4.2 ให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง
2. วิธีการเลือกสื่อ
 2.1 เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
 2.2 เลือกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถ
 2.3 เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
 2.4 มีวิธีการใช้ง่าย ๆ และนำไปใช้ได้หลาย ๆ วิธี
 2.5 มีความถูกต้องตามเนื้อหาและมีความทันสมัย
2.6 มีคุณภาพดี
2.7 เลือกสื่อที่เด็กเข้าใจง่ายในเวลาสั้น ๆ ไม่ซับซ้อน
2.8 สื่อที่เลือกเป็นสื่อที่สามารถสัมผัสได้
2.9 เลือกสื่อเพื่อใช้ฝึกและส่งเสริมการคิด
2.10 เลือกสื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่ใช้

หลักการผลิตสื่อการเรียนการสอน
1. สำรวจความต้องการในการใช้สื่อ
2. วางแผนในการผลิต
3. ดำเนินการผลิตตามรูปแบบที่ได้วางแผนไว้
4. ทดสอบคุณสมบัติของสื่อที่ผลิตขึ้น
5. นำสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปใช้จริง

ขั้นตอนการใช้สื่อ
1) เตรียมตัวครู
2) เตรียมตัวเด็ก
3) เตรียมสื่อ

การนำเสนอสื่อ
1. สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจ
2. ใช้สื่อตามลำดับขั้นของแผนการจัดกิจกรรม
3. ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อที่ใช้ ไม่ควรยืนหันหลังให้เด็ก
4. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมในการใช้สื่อนั้น
6. ควรสังเกต หรือให้ความสนใจคำถาม คำพูดของเด็ก

การประเมินการใช้สื่อ
1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด และสนใจเพราะเหตุใด

การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
1. ควรตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้ง ว่ามีสภาพสมบูรณ์
2. ควรฝึกให้เด็กช่วยกันเก็บรักษาสื่อของครู
3. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่
4. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เอง และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
5. ควรซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด

สื่อการสอนเดินได้
การเรียนการสอนนั้นบางครั้งแม้ไม่มีสื่ออยู่ในมือเลย การเรียนการสอนก็ประสบผลสำเร็จได้เพราะครูและสิ่งที่ครูมีอยู่ในตัว
      1) สายตา
      2) สีหน้า
      3น้ำเสียง

สื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ของเล่น
   สิ่งของหรือวัสดุ – อุปกรณ์ ที่นำมาให้เด็กเล่น บางทีก็เรียกว่า เครื่องเล่น อาจรวมถึงอุปกรณ์ดนตรีอุปกรณ์ทางด้านพลานามัย และอื่น ๆ ซึ่งของเล่นหรือเครื่องเล่นนั้นเป็นสื่อที่ช่วยให้เด็กได้รู้จัก ได้ใช้ได้จัด ได้กระทำ หรือประดิษฐ์คิดสร้าง
   1) ของเด็กเล่น
   2) เครื่องกีฬา
  3) เครื่องดนตรี

การจัดประเภทของเล่นตามทฤษฎีเชิงรู้คิด
1. ของเล่นประเภทที่เด็กเล่นเพื่อการรับรู้
 2. เรียนรู้ด้วยวิธีใช้ความคิด หาวิธีลองทำเพื่อแก้ปัญหา
 3. ของเล่นประเภทที่ช่วยให้เด็กได้ลงมือทำ
 4. ของเล่นที่เด็กเลียนแบบและการแสดงบทบาท
 5. การเล่นเพื่อพัฒนาภาษา

การเลือกของเล่นเพื่อความปลอดภัย
พิจารณาได้ในส่วนต่าง ๆ ดังนี้
         1. วัสดุที่ใช้ผลิต
         2. ส่วนประกอบ
         3. โครงสร้าง

คุณสมบัติของของเล่นที่ดี
1เป็นของเล่นที่ผู้เล่นมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ
2. เป็นของเล่นที่เหมาะสมกับอายุ พัฒนาการ
3. ของเล่นนั้นควรใช้ในกิจกรรมการเล่นหลาย ๆแบบ
4. เป็นของเล่นที่ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ
5. เป็นของเล่นที่กระตุ้นให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่ม
6. เป็นของเล่นที่มีความปลอดภัย ทำจากวัสดุปราศจากพิษ
7. เป็นของเล่นที่สามารถนำมาเล่นได้เอง
8. ควรเป็นของเล่นที่แพร่หลาย เด็ก ๆ นิยมกันทั่วไป

วัตถุประสงค์ของการเล่นที่ใช้เครื่องเล่นของเด็ก
1. เพื่อเพลิดเพลิน
2. เพื่อพัฒนาการทางร่างกาย
3. เพื่อพัฒนาการด้านอารมณ์

การเลือกเครื่องเล่นที่ปลอดภัย
1. ให้การศึกษาเกี่ยวกับเครื่องเล่นที่มีคุณสมบัติที่ดี
2. สิ่งบรรจุเครื่องเล่นควรมีคำอธิบาย คำแนะนำแสดงไว้
3. ผู้ซื้อเครื่องเล่นควรพิจารณาเลือกประเภทให้ถูกต้องตามความเจริญเติบโต
4. เครื่องเล่นควรเป็นชนิดที่ทำความสะอาดได้ง่าย
5. เครื่องเล่นที่ผู้ใหญ่ไม่แน่ใจว่าเด็กจะเล่นได้ปลอกภัยหรือไม่
6. เด็กต่างวัยกันไม่ควรเล่นเกมกีฬาประเภทเดียวกันร่วมกัน

ทฤษฎีและพัฒนาการการเล่นของเด็กปฐมวัย
รูดอล์ฟ (Rudolph, 1984, p. 95) ได้
สรุปไว้เป็นองค์ประกอบของการเล่นได้ 3 ประการ ดังนี้
       1. การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
       2. การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
       3. การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์

ความสำคัญของการเล่น
เพียเจท์ (เยาวพา เดชะคุปต์. 2528:12 อ้างอิงมาจาก Piaget.N.d.) ได้กล่าวเอาไว้ว่า การเล่นมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก จากการเล่น เด็กจะสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆจากสิ่งเร้าได้ และขณะที่เด็กตอบสนองสิ่งเร้าเด็กจะรับรู้สิ่งต่าง ๆเข้ามาในสมอง
     1) บทบาทของการเล่น คือ การระบายอารมณ์
     2) การเล่นช่วยให้เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
     3) การเล่นเป็นการเรียนรู้ทางสังคม

การเล่นกับพัฒนาการด้านต่างๆ
1.อายุ 02 ปี
  เป็นการเล่นแบบทารก เด็กจะใช้ตัวเองและอวัยวะไปสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยสมรรถภาพทางกายกระทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัส เพื่อรับรู้และมีการกระทำที่ซ้ำ 
2. อายุ 23 ปี
  เป็นขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ วัยนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น มีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ร่างกายก็มีความสามารถเพิ่มขึ้น
3. อายุ 36 ปี
   เป็นขั้นการเล่นที่สื่อความคิด เด็กจะเล่นด้วยการสมมติตนเอง สิ่งของ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ แทนของจริงที่ไม่มีอยู่ในที่นั้นได้ วัยนี้เด็กจะเริ่มเล่นเป็นกลุ่ม มีความคิดและจินตนาการในการเล่นที่แสดงออกถึงการเรียนรู้ทางสังคม

พฤติกรรมการเล่นของเด็ก
1. การเล่นเลียนแบบ (Imitation)
2. การสำรวจ (Exploration)
3. การทดสอบ (Testing)
4. การสร้าง (Construction)

ประโยชน์ของการเล่น
ซูซาน ไอแซค (Susan Isaacs) ได้ศึกษาวิจัยผลของการเล่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งกับเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
  1. การเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้
  2. การเล่นช่วยส่งเสริมความสามารถทางการคิดและสติปัญญา
  3. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม
  4. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์
  5. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคาร 24 มกราคม 2560

เนื้อหา/กิจกรรม

            ในกระบวนการสื่อสารนั้นผู้ส่งสารจะส่งสารไปยังผู้รับ ซึ่งผู้รับจะรับสารได้โดยผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การเห็น การได้ยินการสัมผัส การได้กลิ่น และการลิ้มรส โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสารก็มักจะ
นึกถึงภาษาพูดหรือเขียน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวสารคือเนื้อความหรือความหมายที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับหรืออาจจะพิจารณาว่า เป็นสื่อที่ทำให้ผู้รับสารทราบเนื้อหาของสารที่ผู้ส่งสารต้องการส่งก็ได้ ดังนั้น
เมื่อมีการกล่าวถึงลักษณะของการสื่อสาร เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรืออากัปกริยาต่าง ๆ
ความสำคัญของสื่อ
              เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์เครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วยความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็น “การเรียน”เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และได้เรียนรู้ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จดจำได้นาน
ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะ
 1. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน
 2. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน สภาพแวดล้อมต่าง
            ดร.ชัยวงศ์  พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น ประเภท คือ
                        1.  สื่อการสอนประเภทวัสดุ
                        2.  สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
                        3.  สื่อการสอนประเภทวิธีการ
สื่อการสอนประเภทวัสดุ  หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์  เป็นต้น
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์  หมายถึง  สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ เครื่องเสียง เช่น เครื่องรับวิทยุและเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง กับอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องฉาย เช่น กระดานดำ ม้าหมุน
สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ ได้แก่ การจัดระบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ
ต้องเลือกให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระของการสอน ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องให้เหมาะกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัยด้วย

ลักษณะทางกาย
            เด็กปฐมวัย มีร่างกายที่แข็งแรงกว่าเด็กทารกแต่ไม่แข็งแรงเท่าเด็กประถมหรือมัธยม การเลือกใช้สื่อควรเป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น แต่ไม่ควรออกแรงมากเกินไป

ลักษณะทางอารมณ์
            เด็กปฐมวัยมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่รู้จักสะกดกลั้นอารมณ์ของตนเอง หรือควบคุมพฤติกรรม ควรหาสื่อที่เป็นรูปภาพหรือนิทานสอนใจเพื่อให้เด็กเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการสะกดกลั้นอารมณ์

ลักษณะทางสังคม
            สังคมของเด็กวัยนี้ยังอยู่ในสังคมวงแคบ เด็กเริ่มรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนแปลกหน้าจำนวนมาก สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้เด็กอยู่ร่วมกัน รู้จักความร่วมมือแก่กันและมีความรับผิดชอบร่วมกัน เช่น สื่อประเภทกระดานหก ที่ต้องใช้ผู้เล่นอย่างน้อย คน ถึงจะเล่นได้

ลักษณะทางสติปัญญา
ลักษณะทางสติปัญญาของเด็กวัยนี้ ส่วนใหญ่กำลังสร้างจินตนาการ
และมีความคิดหรือเหตุผลในเชิงรูปธรรมมากกว่านามธรรม ครูควรใช้
สื่อที่เป็นรูปธรรมชัดเจน กระตุ้นให้เด็กรู้จักจินตนาการในสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม

   ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย
วัยสี่ขวบถึงห้าขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเองมีความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษามากขึ้น กำลังฝึกการพูดเป็นประโยคยาว ๆ เด็กสามารถช่วยตนเองได้ทุกอย่าง
วัยห้าขวบถึงหกขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่าง ๆ ชอบเล่นเลียนแบบชีวิตของผู้ใหญ่

   ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
            การเล่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะด้านร่างกายและสังคม มีความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต และเพื่อให้เด็กได้รู้จักกฎ กติกาของการเล่น สอนให้เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีความสุขฝึกฝนการใช้ภาษา การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เอื้อให้เด็กเล่น จึงเป็นการที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างแท้จริงการใช้สื่อสร้างสรรค์หมายถึงสื่อการสอนที่ดีที่สามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี การสอนสำหรับเด็ก ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจของเด็กปฐมวัยอีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

               สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยมีหลายประเภท เช่น สื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ สื่อการสอนประเภทวิธีการ การใช้สื่อสร้างสรรค์หมายถึงสื่อการสอนที่ดีสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะในการพัฒนาเด็กทีมีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การสอนสำหรับเด็กต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการทั้ง4ด้าน ต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ได้เองให้มากที่สุด

การประยุกต์ใช้
                    เราสามารถสอนเด็กโดยใช้สื่อสร้างสรรค์ได้ และเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองให้ได้มากที่สุดเพราะจะทำให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง4ด้านเป็นอย่างดี

การประเมิน
       อาจารย์: อาจารย์อธิบายได้ละเอียดและเข้าใจ และยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
       ตนเอง: วันนี้รู้สึกง่วงนิดหน่อย แต่ก็สามารถตั้งใจฟังจนจบได้
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนก็มีอาการง่วง และหลายคนก็ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคารที่ 17 มกราคม 2560


บทที่ 
ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 


 ธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 
            วัยเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการอบรมเลี้ยงดูควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญ เพราะเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญที่สุด ต่อการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์ เป็นวัยแห่งการก่อเกิดพื้นฐานด้านบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย ความสามารถทางสติปัญญา และความสามารถด้านต่าง ๆ การเข้าใจธรรมชาติและการเรียนรู้

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
     1. ลักษณะของการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
     2. มีความสามารถในขอบเขตจำกัดและแตกต่างกัน
     3. ต้องการการเอาใจใส่ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
     4. เป็นวัยที่ชอบอิสระ
     5. ชอบแสดงออกและต้องการการยอมรับ
     6. ชอบเล่น
     7. มีช่วงความสนใจสั้น

เด็กปฐมวัย มีธรรมชาติต่างกัน...
     • บางคนเหมือน รถเข็น จำต้องมีคนคอยเข็ญจึงจะเคลื่อน
     • บางคนเหมือน เรือแคนู จำต้องมีคนพาย
     • บางคนเหมือน ว่าว ถ้าไม่มีคนถือสายป่าย ก็จะลอยจากไป
     • บางคนเหมือน ลูกแมว จะพอใจยิ่งขึ้นถ้าได้รับการลูบไล้
     • บางคนเหมือน รถลาก จะใช้ประโยชน์ไม่ได้นอกเสียจากจะมีการลาก
     • บางคนเหมือน ลูกบอลลูน อัดแน่นด้วยลม และคอยแต่จะลอยขึ้น
              เพราะความแตกต่างนี้ ทำให้เราในฐานะครูปฐมวัยที่ต้องจัดทำสื่อการสอนให้สอดคล้องกับเด็กและสามารถนำไปใช้กับเด็กได้อย่างถูกต้องและตรงจุด

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
     1. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เป็นการเรียนรู้ที่เด็กได้พบหรือสัมผัสกับประสบการณ์ จากสภาพแวดล้อมโดยการกระทำ การรับรู้ การพบเห็นด้วยตนเอง
     2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม เป็นการเรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลต่าง ๆ คนใกล้ชิด
ญาติผู้ใหญ่ หรือจากหนังสือ การสังเกตจากตัวแบบ การเลียนแบบ การบอกเล่าให้ฟังจะทำให้เด็กสร้างภาพขึ้นในสมองของตนแทนการเห็นของจริง

ธรรมชาติของการเรียนรู้
                 การเรียนรู้เป็นกระบวนการซึ่งมีขึ้นตอน ดังนี้
     1. มีสิ่งเร้ามาเร้าผู้เรียน
     2. ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า
     3. ผู้เรียนแปลความหมายของสิ่งเร้าที่รับรู้
     4. ผู้เรียนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้และแปลความหมาย
     5. ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น

ธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
            โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยรูปแบบของพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและเสาะแสวงหาประสบการณ์ จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเกือบทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ หากแต่สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตภาพที่แวดล้อมรอบตัวเด็กนั่นเอง ที่ทำให้อัตราการพัฒนาช้า-เร็วแตกต่างกัน
การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
     ลักษณะที่ 1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ
     ลักษณะที่ 2 เป็นการเรียนรู้จากการช่วยเหลือจากพ่อแม่
     ลักษณะที่ 3 การเรียนรู้จากโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมอย่างมีระบบ

รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
     1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่างความ
เหมือน สี ขนาด รูปร่าง และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงาน
ประสานสัมพันธ์ของสายตาและกล้ามเนื้อมือ
     2. การเรียนรู้โดยการได้ยิน ได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความ
เหมือนความต่างของเสียงได้
     3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ

กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
                การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงชีวิตของแต่ละคน และช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี โดยพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กสามารถพัฒนาได้สูงสุด เป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์ และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่งกระตุ้น (Sensitive)
               เมื่อเด็กอายุมากขึ้นเด็กจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วย โดยเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 6 ปีจะมีวิธีเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่ากลุ่มอายุ 2 - 3 ปี สังเกตได้จากการสัมผัสสิ่งต่างๆแล้ว เด็กใช้การคิด การจินตนาการ การค้นคว้าและลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาสิ่งที่ตนอยากเห็นอยากรู้

ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 2-3 ปี
     • มีปฏิกิริยาโต้ตอบง่าย ๆ ได้
     • ดูหนังสือภาพแล้วเรียกชื่อสิ่งที่ดูหรือเห็นจากภาพได้
     • จับคู่สิ่งของได้ โดยรู้ความสัมพันธ์กัน
     • เริ่มเรียนรู้ขนาดใหญ่-เล็ก
     • จับภาพหน้าตาส่วนต่าง ๆ ของตนได้ (ภาพหรือส่องกระจก)
     • บอกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
     • เริ่มชอบเลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่
     • มีช่วงความสนใจระยะสั้น ๆ เริ่มเรียนรู้และเริ่มเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่ชี้แนะ/บอก
     • เริ่มเข้าใจส่วนย่อย ๆ และส่วนรวมของสิ่งที่นำมารวมกัน
2. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3-4 ปี
     • สามารถจำสี จับคู่สีเหมือนกันได้มากกว่า 3 สี
     • สามารถเข้าใจเปรียบเทียบขนาด ใหญ่ กลาง เล็กได้
     • วาดภาพอย่างมีความหมาย และบอกชื่อภาพได้
     • ชอบซักถามว่า ทำไม . . . .
     • บอกชื่อ-นามสกุลได้ เมื่อได้รับการสอนให้จำ
   • มีความสนใจช่วงระยะสั้น ๆ พยายามเรียนรู้และเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก/สอน และอาจหยุดความสนใจได้ง่าย ๆ
     • มีความเข้าใจเรื่องความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ง่าย ๆ
     • เริ่มเข้าใจความหมายของเวลาคร่าว ๆ เช่น เมื่อเช้านี้ เมื่อวานนี้เป็นต้น
3.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 4-5 ปี
     • สามารถพูดตามเป็นคำสัมผัส ท่องคำสัมผัส และสนุกกับคำที่ออกเสียงซ้ำๆ สัมผัสเสียงและจังหวะ
     • ชี้บอกชื่อสีได้ตั้งแต่ 4-6 สี
     • จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกัน หรือสิ่งของประเภทเดียวกันได้
     • วาดภาพคนโดยมีส่วนต่าง ๆ ของคน ตั้งแต่ 2-6 ส่วน
     • และเปรียบเทียบส่วนต่าง ๆของร่างกายได้
     • วาดภาพและบอกชื่อภาพที่วาดได้
     • บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
     • มีช่วงความสนใจยาวขึ้น
     • มีความสนใจในความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ดีขึ้น
4.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 5-6 ปี
     • สามารถเล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
     • ออกชื่อตัวพยัญชนะ ตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
     • นับเลข เข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ตัวเลขถึง 10
     • จัดประเภท แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันได้
     • รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
     • จับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือได้ถนัด
     • มีความสนใจมากขึ้น อดทนเพราะอยากรู้จริง
     • มีความเข้าใจในความคิดรวบยอดดี เข้าใจเหตุการณ์ เหตุ และผล ของสิ่งที่เกิดขึ้นได้
แนวคิดของการเรียนรู้
การเรียนรู้
            กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของนักจิตวิทยา
1.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ BLOOM (BLOOM'S TAXONOMY)
             Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็นสามด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ โดยนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives ซึ่งถ้าจำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเราแบ่งเป็นด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย ดังนี้
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) 
            พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ พฤติกรรมด้านสติปัญญาและความคิด โดยได้แบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ประกอบด้วย
     1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ และระลึกเรื่องราวนั้นๆ ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
     2. ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้ ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
     3. การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
     4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้อย่างชัดเจน
     5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน
     6. การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัย   หรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป
2. จิตพิสัย (Affective Domain) (พฤติกรรมด้านจิตใจ)
            จิตพิสัย (Affective Domain) คือ พฤติกรรมด้านจิตใจจะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อยๆ 5 ระดับ ได้แก่
     1.การรับรู้
     2.การตอบสนอง
     3.การเกิดค่านิยม
     4.การจัดระบบ
     5.บุคลิกภาพ
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
             ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
     1.การรับรู้
     2.กระทำตามแบบ
     3.การหาความถูกต้อง
     4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
     5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ

2.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (MAYOR)
             ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์มีความจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย
     1. พฤติกรรมควรชี้ชัดและสังเกตได้
     2. เงื่อนไขพฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
     3. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

3.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (BRUNER)
     1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
     2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
     3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
     4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
     5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง ซึ่งเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

4.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (TYLOR)
     1. ความต่อเนื่อง (continuity) คือ ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
     2. การจัดช่วงลำดับ (sequence) คือ  การจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
     3. บูรณาการ (integration) คือ การจัดประสบการณ์ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

5. ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (GAGNE)
     1. การจูงใจ (Motivation Phase)
     2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)
     3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase)
     4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
     5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
     6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
     7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
     8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)


พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
             เด็กปฐมวัย เป็นวัยพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาของชีวิต เด็กจะเริ่มพัฒนาลักษณะความเป็นตัวของตัวเอง ให้ความสนใจในสิ่งรอบตัว และชอบตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ เด็กจะพยายามและต้องการช่วยเหลือตนเอง

ความหมายของพัฒนาการ
     • วอร์ทแมน และลอฟทัส (Wortrman and Loftus, 1992,) อธิบายว่า พัฒนาการเป็นแบบแผนการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของบุคคลนับตั้งแต่กำเนิดชีวิตจนถึงวัยชรา
     • รักตวรรณ ศิริถาพร (2548) ได้กล่าวว่า พัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกันไปในทุก ๆ ด้าน ของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งตายซึ่งมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอน และสามารถทำนายได้
     • กระบวนการของการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องตามลำดับขั้นนำไปสู่การพัฒนาทางคุณภาพ พัฒนาการของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติบโต ควบคู่กับการพัฒนาทางคุณภาพ อารมณ์ สติปัญญาและสังคม

ลักษณะของพัฒนาการ
             ลักษณะของพัฒนาการ คือการเข้าใจวิถีชีวิตในวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 6 ปี
     • พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
     • การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
     • การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
     • พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (Cephalo - caudal direction)
     • พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (Proximo distal direction)
     • พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
     • อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน
     • ความก้าวหน้าของพัฒนาการ
     • พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กัน
     • พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
     • พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
     • พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
     1. บุคคลภายในครอบครัว ประกอบด้วยพ่อ แม่พี่น้อง หรือญาติใกล้ชิดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
     2. บุคคลภายนอกครอบครัว ประกอบด้วยผู้ดูแลเด็ก ครู เพื่อน ๆ ตลอดจนอิทธิพลของสังคมโดยผ่านสื่อต่าง ๆ
พัชรี สวนแก้ว (2536) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กไว้ดังนี้
     • อาหาร
     • อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
     • เชื้อชาติ
     • เพศ
     • ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
     • สติปัญญา
     • การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ
     • ตำแหน่งในครอบครัว        
การจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
     1. กิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ
     2. กิจกรรมที่จัดควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
     3. กิจกรรมที่จัดควรมีความสมดุล
     4. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย
     5. กิจกรรมที่จัดควรเน้นให้มีสื่อของจริงให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต
              นอกจากนี้การจัดกิจกรรมควรยึดหลักพัฒนาการและคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย  ตามสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2550 ดังนี้

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคม

ด้านสติปัญญา
ลักษณะการจัดกิจกรรมผ่านการเล่น


     • กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ภายในห้องเรียน
     • กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ
     • กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้พัฒนาทักษะด้านร่างกาย ฝึกกระบวนการทำงานของสมอง
     • กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการ ทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิด แก้ปัญหาใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติ
      • กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ
      • เกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญามีกฎเกณฑ์กติกาง่าย ๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้

การจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
ลักษณะพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย
     • พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 0 – 1 ปี เด็กวัยนี้ในช่วงแรกเกิด - 3 เดือน จะยังไม่สนใจกับการเล่นมากนัก แต่เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา ฝึกการมองเห็นและการฟังได้สังเกตความเคลื่อนไหว
     • พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 1 - 2 ปี ปีเด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้างแม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งทำให้ได้เรียนรู้ถึงระยะทาง และฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่าง ๆ
     • พฤติกรรการเล่นของเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดี เพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ชอบเล่นที่ออกแรงมากๆ
     • พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 4-6 ปี เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น มีการเคลื่อนไหวของร่างกายคล่องแคล่วขึ้นชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนาม

การจัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
     • กิจกรรมการเล่นของเล่นสำหรับเด็กวัย 0 - 1 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการกระตุ้นประสาทสัมผัสให้เกิดการรับรู้และตอบสนองสิ่งเร้ารอบตัวจากผู้อยู่ใกล้ชิด
     • กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็ก 1 - 2 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ และมีการกระทำซ้ำ ๆ แบบลองผิดลองถูกกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย กิจกรรมการเล่นที่ควรจัดให้การเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ
     • กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการสังเกต เลียนแบบและซักถามทำความรู้จักกับสิ่งต่างๆ รอบตัวจากผู้ใหญ่
   • กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 4 - 6 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ภาษาสื่อความหมายความเข้าใจกับผู้อื่น และการใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ
ประโยชน์ของการจัดกิจกรรม
             เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ต้องการออกมาสัมผัสกับโลกภายนอกมากขึ้นเริ่มมีสังคมนอกบ้าน เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น และมักมีจินตนาการ ของตนเอง เด็กจะเรียนรู้ภาษาและคำพูดได้เร็ว ชอบเลียนแบบในขณะเดียวกันก็ต้องการอิสระ อยากพึ่งตนเอง และต้องการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็กปฐมวัยจึง มีความสำคัญมาก



ที่มา : เอกสารการสอน โดยอาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
เรียบเรียง : นางสาวนพเก้า โมลาขาว นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ
             ได้รู้ถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ลักษณะการเรียนรู้ ปัจจัย พัฒนาการ การจัดกิจกรรมต่างๆ ของเด็กปฐมวัย ผ่านการเล่น เพื่อพัฒนาเด็กได้อย่างตรงจุดและให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีจุดหมาย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
1. ทำให้เรารู้ และเข้าใจถึงธรรมชาติการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น
2. เมื่อเรารู้และเข้าใจแล้ว ในฐานะที่เราเป็นครูปฐมวัยเราต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แบบ

การประเมินผล
       1. ตนเอง : ตั้งใจเย็น จดความรู้
       2. เพื่อน : ตั้งใจเรียน สนุกกับสิ่งที่อาจารย์สอน
       3. อาจารย์ : สอนดี เสียงพูดของอาจารย์ก็น่าฟัง