วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 


ความรู้ที่ได้รับ

                อาจารย์บาสสอนให้นักศึกษาทำสื่อขึ้นมา สองชิ้นง่ายๆที่สอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ด้วย โดยอาจารย์มีตัวอย่างให้ดูสอนทั้งวิธีทำและวิธีเล่น


 ชิ้นที่ 1 
อุปกรณ์
- ตะเกียบ 
- กระดาษ 
- สีไม้
- กาว
วิธีเล่นพนมมือแล้วนำตะเกียบเสียบไว้ตรงกลาง แล้วกระปั่นตะเกียบให้มันหมุนสลับไปมา



ชิ้นที่ 2
         ผู้ทำชิ้นงานสามารถเลือกให้แม่ไก่สามารถออกไข่เป็นอะไรก็ได้ เป็นไข่ไก่ ลูกบอล และสื่อชิ้นนี้สามารถสอนเรื่องจำนวน หรือเรื่องที่เด็กๆสนใจได้
อุปกรณ์
-กระดาษ
-สีไม้ 
-คัตเตอร์
-กาว
วิธีเล่น
ดึงกระดาษแผ่นยาวให้เหมือนแม่ไก่ฟักไข้
         
       

ชิ้นที่ 3 
เป็นการสอนเรื่องหมดต่างๆ แล้วแต่ว่าอยากสอนอะไร เช่น รูปทรง สี ผลไม้ ฤดูกาล
อุปกรณ์- กระดาษ
- สี
- กาว 
- กรรไกร


วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคาร 17 กุมภาพันธ์ 2560

เนื้อหา/กิจกรรม
         วันนี้ได้ไปศึกษาดูงานที่ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ราชดำเนิน โดยที่นั่นจะมีสื่อประเภทต่างๆมากมาย รวมไปถึงหนังสือ อุปกรณ์กีฬา เครื่องดนตรี อุปกรณ์การเรียน จะมีสื่อประเภท ไม้บล็อก  จิ๊กซอ ผลไม้จำลองและอื่นๆอีกมากมาย


การประยุกต์ใช้
         สามารถนำสื่อต่างๆที่ได้เห็นไปประยุกต์ใช้ในการทำสื่อชนิดต่างๆ และได้เรียนรู้สื่อบางชนิดที่ไม่เคยเห็นาก่อน

การประเมิน
         อาจารย์: อาจารย์ได้พาออกนอกสถานที่และให้คำแนนำในการเดินทางเป็นอย่างดี
         ตนเอง: มีความสนุกสนานกับการได้นั่งเรือโดยสาร น่าตื่นเต้นในทุกเส้นทาง สื่อที่น่าสนใจในศึกษาภัณฑ์มีมากมายและหลายหลาย 
         สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนตื่นเต้นกับการนั่งเรือโดยสาร หลายคนก็ได้ซื้อสื่อจากศึกษาภัณฑ์มามากมาย

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560

การ์ด Pop up

           Pop up นั้นมีการทำหลากหลายรูปแบบมาก แต่วันนี้เราจะมาสอนวิธีการทำ Pop up แบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องตัดจากกระดาษชั้นแรกให้เด้งขึ้นมาค่ะ

อุปกรณ์ 
     1. สีไม้
     2. กระดาษ A4 (ขาวและสี)
     3. กระดาษโปสเตอร์สีสองหน้า
     4. กาว
     5. กรรไกร คัดเตอร์
วิธีทำ 
     1. นำกระดาษ A4 สีใดก็ได้มาพับครึ่ง เพื่อใช้เป็นตัวการ์ด

     2. ส่วนตัวดอกไม้ ให้พับกระดาษกระดาษ A4 ให้ได้สี่ส่วน จากนั้นก็ทำการตัดเป็นสี่ชิ้นเพื่อทำเป็นตัวดอกไม้ ทั้งนี้ผู้ทำจะเลือกทำดอกไม้สีเดียวเหลือหลายสีคละกันก็ได้ เมื่อตัดเสร็จเลือกจากที่ตัดมา 9 แผ่น 
     3. จากที่เลือกมา 9 แผ่น ให้พับกระดาษแต่ละแผ่นที่ทำตัวดอกไม้ตามขั้นตอน ดังนี้
             นี่ก็คือวิธีการทำตัวดอกไม้ ต้องทำให้ครบทั้ง 9 ชิ้นเพื่อนำมาประกบกันเป็น pop up
    4. ขั้นตอนของการทากาว ไม่ต้องทาเยอะ ให้แต้มเป็นจุด จุดละจิ๊ดเดียว ถ้าทากาวเยอะดอกไม้จะไม่เด้ง ซึ่งการประกบกัน 9 ดอกนั้นทำตามนี้


             ทั้งนี้เราสามารถตกแต่งด้วยใบไม้ หรืออย่างอื่นได้ตามใจชอบ รวมไปถึงการเขียนหน้าปกเพื่อมอบให้คนพิเศษในโอกาสต่างๆ อีกด้วย

การประเมินผล
            ตนเอง : ตั้งใจทำ
            เพื่อน : ตั้งใจทำ และสนุกสนานกับสิ่งที่ทำ
            อาจารย์ : มีคลิปวีดีโอประกอบการสอนทำให้การทำสื่อนั้นเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น


วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
         การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ และมีพฤติกรรมอย่างง่าย ๆครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นนี้ได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่าง ๆ

เกม (Games)
         สำหรับเกมในทรรศนะของนักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก  ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และพึงพอใจ และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ
จุดมุ่งหมายของการเล่นเกม
2.1 ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
2.2 พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
2.3 ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม
2.4 เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
2.5 สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง
2.6 ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม
เกมการเล่น
1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม
5. เกมช่วยพัฒนาด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ

แนวคิดการจัดเกม
1.เกณฑ์การเลือกเกม
 1.1 ต้องพิจารณาว่าเกมนั้น ๆ จะส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านใด
 1.2 เกมที่นำมาให้เด็กเล่นนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว
 1.3เกมที่ดีจะต้องเป็นเกมที่เด็กสนใจ
 1.4เกมที่ให้แด็กเล่นจะเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกทักษะ
1.5ช่วยเด็กให้เกิดมีทักษะด้านต่าง ๆ เช่นทักษะ การเคลื่อนไหว ทักษะการสังเกตทักษะการเรียบเทียบ
 1.6เกมที่เล่นนั้นควรจะเป็นเกมที่เด็กสามารถนำไปเล่นซ้ำๆ
1.7เกมที่ดีต้องเป็นเกมที่ช่วยส่งเสริมหรือพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
2. การวางแผนการเล่นเกม
3. วิธีดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4. การสอนเกมลักษณะต่างๆ
   4.1 เกมวงกลม
   4.2 เกมกลุ่มเด็กเล็ก
   4.3 การเล่นเป็นทีม
เกมการศึกษา
         หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมโดยเป็นการเล่นที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเกมบัตรภาพ แต่เป็นเกมหลายรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ เหตุผล มิติสัมพันธ์ ประสาทสัมผัสการับรู้และการจำ ตอลดจนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (2537, หน้า 129)
 2.1 เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและการจำแนกด้วยสายตา
 2.2 เพื่อฝึกการคิดหาเหตุผล
 2.3 เพื่อฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
 2.4 เพื่อฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
 2.5 เพื่อฝึกให้มีคุณธรรมต่าง ๆ
 2.6 เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
ประเภทของเกมการศึกษา
1) เกมการจับคู่
(1) สิ่งที่เหมือนกัน


(2) สิ่งที่สัมพันธ์กัน
(3) สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน
(4) สิ่งที่ขาดหายไป



2) เกมการจัดหมวดหมู่


3) เกมภาพตัดต่อ



4) เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง


5) เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน


6) เกมตารางสัมพันธ์


7) เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


8) เกมลอตโต

9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย


10. เกมพื้นฐานการบวก


11. เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)


หลักการใช้เกมการศึกษา
   การใช้เกมการศึกษาควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดนักเพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อน เมื่อเด็กมีความสังเกตจดจำมากแล้ว จึงจะให้เด็กได้สังเกตส่วนย่อย ๆ หรือส่วนละเอียดมากขึ้นตามลำดับ

ประโยชน์ของเกมการศึกษา
          เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน สามารถทำ ให้เด็กที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้าพัฒนาการเรียนดีขึ้นช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว เด็กยังมีโอกาสแสวงหาความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองนับว่าเกมการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีความจำ